วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

Bill Of Lading

ใบตราส่งสินค้า
( Bill of Lading )

ใบตราส่งสินค้า

  • เป็นตราสารที่ผู้รับขนสินค้าออกให้แก่ผู้ส่งสินค้า เพื่อแสดงว่าได้มีการรับสินค้าเพื่อนำส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ผู้ส่งสินค้ากำหนด ใบตราส่งสินค้ามีหลายชนิด เช่น
  • ใบตราส่งสินค้าทางทะเลเรียกว่า Ocean Bill of Lading ซึ่งมีลักษณะปลีกย่อยดังนี้ ใช้กับการขนส่งรวมรูปแบบต่อเนื่องหลายวิธีเข้าไว้ด้วยกัน เรียกว่า Multimodal Transport Document หรือ Combine Transportation Bill of Lading
  • ใช้ในการขนส่งที่ผู้รับสินค้าไม่ต้องนำต้นฉบับใบตราส่งไปขอรับสินค้า ซึ่งในทางปฏิบัติผู้รับสินค้าสามารถใช้สำเนาใบตราส่งไปขอรับใบสั่งปล่อยจากตัวแทนเรือได้ เรียกว่า Seaway Bill หรือ Express Bill ใบตราส่งประเภทนี้ผู้รับตราส่งจะต้องเป็นผู้นำเข้าโดยตรง และความรับผิดชอบของผู้รับขนส่งมีน้อยกว่าใบตราส่งประเภทอื่น
  • ใบตราส่งสินค้าทางอากาศเรียกว่า Air Way Bill
  • ใบตราส่งสินค้าทางรถไฟ เรียกว่า Railway Bill ใบตราส่งสินค้าที่สำคัญได้แก่

ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading)
 ใบตราส่งสินค้าทางเรือเป็นเอกสารที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ
  • เป็นใบรับสินค้าที่ออกให้โดยสายเดินเรือหรือตัวแทนสายเดินเรือ ที่มีรายละเอียดของสินค้าที่จะทำการขนส่ง
  • เป็นสัญญาการขนส่งระหว่างผู้ส่งสินค้ากับผู้รับขนส่งสินค้า ว่าผู้รับขนส่งจะส่งสินค้าไปยังเมืองท่าปลายทางและจะส่งมอบให้แก่ผู้รับที่ผู้ส่งสินค้าได้ระบุไว้
  • เป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ขนส่งที่เปลี่ยนมือได้ (Negotiable) ของผู้ทรงสิทธิ์ ซึ่งผู้ทรงสิทธิ์จะใช้ในการขอรับสินค้าที่ท่าเรือปลายทาง หรือจะใช้ในการขายต่อสินค้าให้กับผู้รับซื้อช่วงในระหว่างการขนส่งก็ได้

ข้อความที่สำคัญในใบตราส่งสินค้าทางเรือมีดังนี้



  • ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Way Bill)
        ใบตราส่งสินค้าทางอากาศเป็นเพียงใบรับสินค้าและสัญญาการขนส่งเท่านั้น
ข้อความที่สำคัญในใบตราส่งสินค้าทางอากาศมีดังนี้




  • ใบตราส่งสินค้าที่ใช้กับการขนส่งรวมรูปแบบต่อเนื่องหลายวิธีเข้าไว้ด้วยกัน
        ใบตราส่งสินค้าที่ใช้กับการขนส่งรวมรูปแบบต่อเนื่องหลายวิธีเข้าไว้ด้วยกัน เรียกว่า Multimodal Transport Bill of Lading ใช้สำหรับการขนส่งที่รวมรูปแบบหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น ขนส่งโดยรถยนต์ไปต่อเรือเดินสมุทรแล้วไปต่อเครื่องบินอีกทอดหนึ่งเป็นต้น ใบตราส่งสินค้าแบบ Multimodal Transport Bill of Lading มีรายละเอียดเหมือนกันกับใบตราส่งสินค้าทางทะเลเกือบทั้งหมด



 
เป็นตราสารที่ผู้รับขนสินค้าออกให้แก่ผู้ส่งสินค้า เพื่อแสดงว่าได้มีการรับสินค้าเพื่อนำส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ผู้ส่งสินค้ากำหนด ใบตราส่งสินค้ามีหลายชนิด เช่น
·        ใบตราส่งสินค้าทางทะเลเรียกว่า Ocean Bill of Lading ซึ่งมีลักษณะปลีกย่อยดังนี้
·        ใบตราส่งสินค้าทางอากาศเรียกว่า Air Way Bill
·        ใบตราส่งสินค้าทางรถไฟ เรียกว่า Railway Bill

ข้อความที่สำคัญในใบตราส่งสินค้าทางเรือมีดังนี้
1. ชื่อที่อยู่ของผู้ส่งสินค้า (Shipper)
 2. ชื่อที่อยู่ของผู้รับตราส่ง (Consignee)
3. ชื่อที่อยู่ของผู้รับสินค้า (Notify Party)
4. เลขที่ใบตราส่งสินค้า(Bill of lading No.)
5. ชื่อเรือสินค้าลำลูก (Precarriage)และเที่ยวเรือ
 6. ชื่อเรือสินค้าลำแม่ (Vessel)และเที่ยวเรือ
7. สถานที่รับสินค้าที่ต้นทาง (Place of Receipt)
8. เมืองท่าต้นทาง (Port of Loading)
9. เมืองท่าปลายทาง (Port of Discharge)
10. สถานที่รับสินค้าปลายทาง (Place of Delivery)
11. เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Mark&No.)
12. จำนวนสินค้า (No.of Containers or Pkgs.)
13. ลักษณะหีบห่อ (Kind of Packages)
14. รายการสินค้า (Description of Goods)
15. น้ำหนักสินค้า (Gross weight)
16. ปริมาตรของสินค้า (Measurement)
17. หมายเลขคอนเทนเนอร์ (Container No.)
18. หมายเลขแถบประทับ (Seal No.)
19. ค่าระวางสินค้าและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บ (Freight & Charge)
20. จำนวนของต้นฉบับ
สัมพันธ์กับเงื่อนไขทางการค้า
     EXW  ( .... ระบุสถานที่)
 ผู้ขายไม่ต้องทำอะไรเลย  เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนส่งสินค้าเองตั้งแต่ออกจากคลังสินค้าของผู้ขาย ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงตกอยู่กับผู้ซื้อทั้งสิ้น ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการผ่านด่านศุลกากรขาออก  กระทั่งค่าใช้จ่ายในการขนของขึ้นรถที่มารับ    คลังสินค้าของผู้ขาย  ทั้งนี้  เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เช่นให้ผู้ขายส่งของขึ้นรถที่ผู้ซื้อจัดมาให้ด้วย                                                                         

FCA ( .... ระบุสถานที่ )
 ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงจุดหรือสถานที่รับสินค้าที่อยู่ภายใต้ความอารักขาของผู้รับขนสินค้า เช่น Container Freight Station, Cargo Terminal ที่ท่าอากาศยาน หรือ สถานีรถไฟ ฯลฯ   โดยเป็นหน้าที่ของผู้ขายในอันที่จะจัดการเพื่อส่งออกด้วย   (เช่น ขอใบอนุญาต ในกรณีที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออก  รวมทั้งผ่านพิธีการศุลกากร)  Terms นี้ จะใช้สำหรับการขนส่งทุกชนิด ทั้งทางบกหรือและอากาศ   รวมทั้งการขนส่งหลายรูปแบบ  โดยเฉพาะทางเรือจะเกี่ยวเนื่องกับการส่งของโดย  container  ด้วยวิธีที่เรียกว่า  RO-RO  ( roll on – roll off )  ไม่มีการยกสินค้าขึ้นเรือโดยใช้ปั้นจั่น  แต่เป็นการขนส่งสินค้าไปถึงจุดรับสินค้าของผู้รับขนส่ง เช่น  CFS ถ้าการส่งมอบสินค้ากระทำที่สถานที่ของผู้ขายเอง  ผู้ขายต้องรับผิดชอบในการเอาของขึ้นบรรทุกยานพาหนะที่มารับด้วย   แต่ถ้าการส่งมอบกระทำ ณ สถานที่อื่น    ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดชอบในการนำของลงจากยานพานะที่ใช้ขนสินค้าไป  ฯลฯ

FAS  ( .... ระบุท่าต้นทาง)
 ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงข้างลำเรือที่ท่า หากเรือทอดสมออยู่กลางทะเลก็ต้องลำเลียงโดยเรือเล็กไปจนถึงข้างเรือใหญ่  กรณีนี้ ผู้ขายต้องจัดการส่งออกให้เรียบร้อย  กล่าวคือทั้งเสียอากรขาออกและขอใบอนุญาตส่งออก ฯลฯ  ซึ่งต่างกับ  Incoterms 1990 ฉบับเดิมอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะตามฉบับที่แล้ว ผู้ซื้อต้องจัดการทำพิธีการส่งออกเอาเอง

 FOB  ( .... ระบุท่าต้นทาง)
 ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงบนเรือ และความเสี่ยงจะเปลี่ยนข้างจากผู้ขายไปตกอยู่กับผู้ซื้อตั้งแต่วินาทีที่สินค้าถูกยกข้ามพ้นกราบเรือ (ship's rail)  ไปเหนือลำเรือแล้ว  ภาระในการส่งออก (เช่น การขอใบอนุญาต การชำระค่าอากรขาออก ฯลฯเป็นของผู้ขายที่จะต้องจัดการให้เสร็จสิ้น   Terms นี้ใช้สำหรับการส่งของทางเรือแบบดั้งเดิม (conventional)  โดยการยกสินค้าขึ้นเรือ หรือที่เรียกกันว่า LO-LO (Lift on – Lift off)

 CFR  ( .... ระบุท่าปลายทาง)
 (โปรดสังเกตว่าเงื่อนไขนี้  เดิมใช้กันว่า C&F)
 เช่นเดียวกันกับ FOB ข้างบน  หากแต่ว่าผู้ขายต้องชำระค่าระวางในการขนส่งทางเรือด้วย  มีข้อที่น่าสังเกตคือ ถึงแม้ผู้ขายจะต้องรับภาระเรื่องค่าระวางถึงปลายทางก็ตาม  แต่ความเสี่ยงของฝ่ายผู้ขายนี้จะอยู่แค่กราบเรือที่ต้นทาง เหมือนกับกรณีของ FOB เท่านั้นเอง  ว่าอีกอย่างหนึ่ง Cost (ค่าใช้จ่าย) ของผู้ขายไปถึงท่าปลายทาง (เสียค่าระวาง) แต่ Risk (ความเสี่ยงของผู้ขายจะสิ้นสุดที่กราบเรือเท่านั้นเอง   ถ้าเป็นการส่งสินค้าโดยมิได้มียกของข้ามกราบเรือ จะต้องใช้เงื่อนไข CPT ซึ่งจะกล่าวต่อไป

 CIF  ( .... ระบุท่าปลายทาง)
  เช่นเดียวกับ  CFR  ทุกประการ   เพียงแต่เพิ่มให้ผู้ขายต้องจัดการเอาประกันภัยให้กับสินค้าที่ขนส่ง ด้วยการชำระเบี้ยประกันจนถึงปลายทางด้วยเท่านั้น   และต้องไม่ลืมว่าความเสี่ยงของผู้ขายจะมีถึงจุดเหนือกราบเรือ  เช่นเดียวกับเงื่อนไข FOB  หรือ  CFR  เท่านั้น  เลยไปแล้วเป็นเรื่องของผู้ซื้อ

 CPT  ( .... ระบุท่าปลายทาง)
  เป็น term ใหม่  ใช้มาตั้งแต่ Incoterms 1990  สำหรับการขนส่งทุกรูปแบบ รวมทั้ง multimodal transport  ด้วย มีความหมายใกล้เคียงกันกับ CFR  ซึ่งให้ใช้แต่เฉพาะการขนส่งทางเรือนั่นเอง  แต่สำหรับเงื่อนไข CPT นี้  ผู้ขายต้องส่งมอบสินค้าให้กับผู้รับขนส่ง (Carrier) ณ สถานที่รับของ  ไม่ต้องส่งของขึ้นเรือ

 CIP  ( .... ระบุท่าปลายทาง)
  เช่นเดียวกับ CPT  ทุกประการ แต่เพิ่มภาระให้ผู้ขายต้องเอาประกันภัยด้วย ถ้าจะว่าไปแล้ว ความหมายของ CIP ก็ใกล้เคียงกับ CIF  จะต่างกันก็ตรงที่ CIP  ใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ ตลอดจน multimodal transport  แต่ CIF ใช้กับการขนส่งทางเรือเท่านั้น

 DAF  ( .... ระบุสถานที่)
สำหรับการขนส่งสินค้าโดยผู้ขายไปจนถึงพรมแดนของประเทศโดยผ่านด่านศุลกากรขาออกของประเทศผู้ขายไปแล้ว แต่ยังไม่ผ่านด่านศุลกากรขาเข้าของประเทศผู้ซื้อ  ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงเป็นของผู้ขายไปถึงจุดที่ว่านั้น  ณ พรมแดน  ทั้งนี้ เว้นจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น

 DES ( .... ระบุท่าปลายทาง)
ผู้ขายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง  จนกระทั่งเรือไปถึงและเทียบท่าปลายทางความรับผิดชอบนี้จะจำกัดอยู่แค่นั้น  โดยสินค้ายังอยู่บนเรือ  สำหรับการขนของลงจากเรือและค่าใช้จ่ายตลอดจนความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ตามมา เป็นเรื่องของผู้ซื้อแต่ลำพังเพียงผู้เดียว

 DEQ  ( .... ระบุท่าปลายทาง)
 เหมือนกันกับ DES ข้างบน หากแต่ผู้ขายต้องขนส่งสินค้าลงที่หน้าท่าให้ด้วย ต่อจากนั้นจึงเป็นภาระของผู้ซื้อ  ค่าอากรขาเข้าและภาระในการขอใบอนุญาตนำเข้า  (ถ้าจำเป็นต้องมี) ผู้ซื้อต้องจัดการเอง  เงื่อนไขนี้ เดิมใน Incoterms 1990 ผู้ขายหรือผู้ซื้อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะจ่ายก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน (แต่ปกติแล้วผู้ขายต้องจ่ายคราวนี้เปลี่ยนเป็นให้ผู้ซื้อจ่ายอย่างเดียว

 DDU  ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)
ผู้ขายจะต้องขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อกำหนดในประเทศปลายทาง  เช่นให้ส่งที่คลังสินค้าของผู้ซื้อไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ไหน ในประเทศปลายทางดังกล่าว  แต่ถ้าตกลงกันว่าให้ส่งมอบสินค้าในบริเวณท่าเรือปลายทางก็ควรใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทน   ในการนี้ผู้ขายจะจัดการขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่จะส่งมอบ  แต่เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนสินค้าดังกล่าวลงจากยานพาหนะที่ไปส่งสินค้าเอง อย่างไรก็ตาม  ทางฝ่ายผู้ซื้อต้องชำระค่าอากรขาเข้าตลอดจนภาษีอื่น ๆ ของประเทศที่นำสินค้าเข้าเองด้วย

 DDP  ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)
ผู้ขายต้องรับภาระสูงสุด   (และราคาก็สูงสุดเหมือนกัน)เพราะฝ่ายผู้ซื้อไม่ต้องทำอะไรและไม่ต้องจ่ายค่าอากรขาเข้าด้วย  เป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องเหมาหมด  การขนสินค้าลงจากยานพาหนะที่ไปส่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อเช่นเดียวกันกับภายใต้เงื่อนไข DDUและถ้าตกลงจะส่งมอบกันในบริเวณท่าเรือ ก็ให้ใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทนเหมือนกันกับกรณี DDU ที่กล่าวแล้ว   ภายใต้เงื่อนไข DDP นี้ ราคาสินค้าต่อหน่วยจะแพงที่สุด เพราะผู้ขายต้องรับภาระทุกอย่าง

 

อ้างอิงข้อมูล

          http://www.panyathai.or.th/
          http://www.shipping2000.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น