วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อินโคเทอม (Incoterms)
เป็นข้อกำหนดของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce : ICC) ที่กำหนดความหมายของคำเฉพาะทางการค้า (trade term) เพื่อใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ แต่ก็สามารถนำไปใช้ในการทำสัญญาซื้อขายภายในได้ด้วย อินโคเทอมให้ความหมายและบ่งบอกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขายผู้ซื้อในการจัดส่งสินค้า ตลอดจนค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงภัย ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อและผู้ขายในการทำสัญญาซื้อขาย เพราะเพียงระบุเทอมของการซื้อขายตามอินโคเทอมไว้ในสัญญาซื้อขาย โดยไม่ต้องบรรยายรายละเอียดขั้นตอนความรับผิดชอบในการจัดส่งสินค้า ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงภัยลงไว้ในสัญญาซื้อขาย ก็ถือว่าเป็นการตกลงที่เข้าใจและรับรู้กันว่าผู้ขายมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไรในการจัดส่งสินค้า และต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าเพียงใด ถึงจุดใด ความเสี่ยงภัยต่อความสูญเสียหรือความเสียหายของสินค้าที่ซื้อขายกันจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อใด โดยมีการนำเทอมตามอินโคเทอมไปใช้ในการทำสัญญาซื้อขายสินค้าบางประเภทกันมากทั่วโลก โดยเฉพาะ เทอม EXW (Ex Works) FOB  (Free On Board) CFR (Cost And Freight) และ CIF (Cost, Insurance and Freight) ที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายกว้างขวาง
 
การทำสัญญาการค้าระหว่างประเทศของไทยส่วนมากจะนำอินโคเทอมมาใช้ แม้แต่การทำสัญญาซื้อขายในประเทศบางกรณีก็มีการอ้างอิงอินโคเทอมด้วย สำหรับการบังคับใช้อินโคเทอมตามกฎหมายไทยนั้น ถ้าเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศและตกลงกันโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้นำอินโคเทอมมาใช้บังคับ และเป็นกรณีที่ต้องระงับข้อพิพาทในศาลไทย หรือกรณีเป็นสัญญาซื้อขายในประเทศที่มีการอิงอินโคเทอม ศาลก็จะบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา
 
อินโคเทอมมีการจัดพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.. 2479 (..1936) และมีการปรับปรุงแก้ไขตลอดมาหลายครั้ง อินโคเทอมที่ใช้อยู่ล่าสุดก่อนการประกาศใช้ Incoterms 2010 คือ Incoterms 2000 ซึ่งมีการกำหนดคำเฉพาะทางการค้าไว้ 13 เทอม แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่ม E มีเทอมเดียว คือ EXW (Ex Works) กลุ่ม F มี 3 เทอม คือ FAC (Free Carrier), FAS (Free Alongside Ship), และ FOB (Free On Board) กลุ่ม C มี 4 เทอม คือ CFR (Cost And Freight), CIF (Cost, Insurance and  Freight), CPT (Carriage Paid To) และ CIP (Carriage And Insurance Paid To) เป็นกลุ่มผู้ขายต้องรับผิดชอบในการขนส่งด้วย  กลุ่ม D มี 5 เทอม คือ DAF (Delivered At Frontier), DES (Delivery Ex Ship), DEQ (Delivered Ex Quay), DDU (Delivered Duty Unpaid) และ DDP  (Delivered Duty Unpaid)
 


หลังจากใช้ Incoterms 2000 มาตั้งแต่ปี พ.. 2543 จนถึง ปี พ.. 2551 ทางหอการค้านานาชาติก็เริ่มพิจารณาแก้ไขปรับปรุง Incoterms 2000   เหตุผลที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงตามถ้อยแถลงของประธานหอการค้านานาชาติประการหนึ่งคือ มีการนำอินโคเทอมบางเทอมไปใช้อย่างผิดความหมาย มีการแปลความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้เกิดข้อพิพาทและมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น และตามเอกสารของหอการค้านานาชาติก็ได้ระบุถึงความจำเป็นในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับข้อปฏิบัติทางการค้า เทคโนโลยี และการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย อินโคเทอมฉบับใหม่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสินค้า และการที่สหรัฐอเมริกาได้แก้ไขกฎหมายทางการค้าเมื่อ พ.. 2547 ที่ได้ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับเทอมการส่งสินค้า (US shipment and delivery terms) และให้สามารถรองรับเขตการค้าเสรี เช่นกรณีของสหภาพยุโรปด้วย         
 
สิ่งใหม่ของ Incoterms 2010 คือ ลดเทอมการค้าที่กำหนดไว้ตาม Incoterms 2000 จาก 13 เทอม เหลือ 11 เทอม เป็นเทอมตาม Incoterms 2000  เดิม 9 เทอม เป็นเทอมใหม่ 2 เทอมและจากเดิมแยกกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม เหลือเพียง 2 กลุ่ม โดยแยกตามโหมดของการขนส่ง เป็นสองโหมด คือโหมดการขนส่งใดๆ ที่ไม่ใช่การขนส่งทางเรือเป็นหลัก ซึ่งหากมีการขนส่งทางเรือก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการขนส่งเท่านั้น และโหมดการขนส่งทางทะเลและทางลำน้ำ
 
โหมดการขนส่งที่ไม่ใช่การขนส่งทางเรือ มีทั้งหมด 7 เทอม ประกอบด้วยเทอมเก่าคือ EXW (Ex Works), FAC (Free Carrier), CPT (Carriage Paid To), CIP (Carriage And Insurance Paid To), DAT (Delivered At Terminal ), DAP (Delivered At Place) และ  DDP (Delivered Duty  Unpaid) อีกโหมดหนึ่งคือการขนส่งทางทะเลและทางลำน้ำ ประกอบด้วย 4 เทอมซึ่งเป็นเทอมที่คุ้นเคยกันทั่วไปคือ FAS (Free Alongside Ship), FOB (Free On Board), CFR (Cost And Freight) และ CIF (Cost, Insurance and  Freight)
 
DAT (Delivered At Terminal) เป็นเทอมใหม่ แทน DEQ (Delivered Ex Quay) จากข้อมูลเบื้องต้น เทอม DAT สามารถใช้กับการขนส่งแบบใดก็ได้รวมทั้งใช้ได้กับการขนส่งที่ต้องใช้ทั้งสองโหมด สำหรับการส่งมอบสินค้านั้น ถือว่าผู้ขายได้ส่งมอบสินค้า เมื่อมีการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะที่บรรทุก  ไปไว้ยังที่ที่ผู้ซื้อจัดไว้ ณ อาคารขนถ่ายสินค้า ในท่าเรือหรือปลายทางตามที่ระบุไว้ 
 
DAP (Delivered At Place) เป็นเทอมใหม่แทน DAF (Delivered At Frontier), DES (Delivery Ex Ship), DEQ (Delivered Ex Quay) และ DDU (Delivered Duty Unpaid) ซึ่งทางหอการค้านานาชาติเห็นว่า เทอมเดิมทั้งสี่เทอมดังกล่าวค่อนข้างคล้ายกันมากแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย จึงยุบรวมกันเพื่อให้เกิดความสะดวกยิ่งขึ้น และตามข้อมูลเบื้องต้น ผู้ขายตามเทอม DAP จะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่าง ยกเว้นค่าภาษีและพิธีการนำเข้า และต้องรับความเสี่ยงภัย จนสินค้าถึงจุดหมายปลายทาง
 
หมายเหตุเกี่ยวกับ Incoterms 2000 และ Incoterms 2010 ตามเอกสารของหอการค้านานาชาติ บันทึกให้เป็นที่รับทราบกันว่า บรรดาสัญญาซื้อขายที่ทำภายใต้ Incoterms 2000 ยังมีผลใช้บังคับได้ แม้จะล่วงเลยปี พ.. 2555 ก็ตาม นอกเหนือจากนั้นการทำสัญญาซื้อขายสินค้าภายหลังจากนี้ คู่สัญญายังสามารถเลือกได้ว่าจะใช้เทอมการค้า ตามอินโคเทอม ฉบับก่อนฉบับใดก็ได้ แต่ต้องระบุไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อพิพาทขึ้น
 
คำแนะนำของหอการค้านานาชาติเกี่ยวกับใช้อินโคเทอม หอการค้านานาชาติให้คำแนะนำว่า ในการทำสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงเลือกใช้เทอม ตามอินโคเทอมที่เหมาะสมกับสินค้าและวิธีการขนส่ง โดยสามารถศึกษาได้จากคำอธิบายและแนวทางในการใช้ Incoterms 2010 แต่ละเทอมได้จากเอกสารของหอการค้านานาชาติ (เป็นเอกสารลิขสิทธิ์พิมพ์จำหน่ายไม่ได้แจก) จึงเป็นเรื่องที่ผู้นำเข้าและส่งออกควรได้ศึกษาทำความเข้าใจกับ Incoterms 2010 เพื่อประโยชน์ในการเจรจาทำความตกลงซื้อขายให้เกิดประโยชน์สูงสุด


 

Incoterm:

คำศัพท์ที่ใช้กันบ่อย

1
มีคำย่อมากมายที่ใช้กันในวงการ แต่ไพรว่าเราใช้แค่ 4 อันแค่นั้นแหละ คำย่อต่างๆเราเอาไว้ขอราคาจากผู้ขายสินค้า เราเรียกมันว่า Incoterm หรือ International Commercial Terms แล้วมันมีเยอะขนาดไหน ขอบอกตรงๆว่าจำไม่ได้ เพราะไม่เคยศึกษา เอาแค่ที่ใช้ก็พอแล้ว ผมคิดว่าอย่างนั้นนะครับ

www.bangkokbiznews.com

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Context Clues (การเดาความหมายจากบริบท)
Context Clues การเดาความหมายจากบริบท
context = ปริบทหรือบริบท , clue = ตัวชี้แนะ อุปสรรคที่มักพบบ่อยๆ
ในการอ่านภาษาอังกฤษ ก็คือ การไม่รู้ความหมายของคำศัพท์ ทำให้ไม่สามารถเข้าใจข้อความที่อ่าน
ไม่สามารถตีความโจทย์ข้อสอบได้ อ่านไม่เข้าใจ ทำข้อสอบได้ไม่ดี วิธีที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ก็คือ ต้องรู้ความหมายศัพท์และสามารถนำไปใช้ได้ แต่การรู้ความหมายศัพท์โดยไม่ต้องเปิดพจนานุกรม (Dictionary) นั้น ทำได้อย่างไร คำตอบก็คือ นักเรียนมีความจำเป็นที่จะต้องเดาความหมายนั้นจากบริบท (Context)
ซึ่งหมายถึง ข้อความ หรือศัพท์หลายๆ คำซึ่งแวดล้อมคำศัพท์ตัวที่เราไม่รู้ความหมาย แล้วทำให้เดาความหมายของศัพท์ที่ไม่รู้ได้ บริบทเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเข้าใจคำศัพท์ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะ ความหมายของคำ คำใดคำหนึ่งนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับคำอื่นๆ ซึ่งอยู่ข้างเคียงด้วย เช่น คำว่า "about" We know about that. (about = concerning) แต่ถ้า It is about six o'clock. (about = close to) เป็นต้น
ผู้อ่านสามารถตีความหมายได้โดยอาศัยสิ่งแนะที่อยู่ในปริบท (Context Clues) สิ่งชี้แนะหรือตัวสัญญาณ (Clues / signal words) สามารถช่วยชี้แนะความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยให้กับผู้อ่านได้อย่างถูกต้องตรงตามปริบท สิ่งชี้แนะหรือตัวสัญญาณที่สำคัญได้แก่
1. Definition type (การให้คำนิยาม)
2. Restatement type (การกล่าวซ้ำ)
3. Example type (การยกตัวอย่าง)
4. Comparison or Contrast type (การเปรียบเทียบ หรือ บอกความแตกต่าง)
5. Cause and Effect relationship type (การใช้ความสัมพันธ์ในเรื่องเหตุและผล)
6. Explanation type (การอธิบาย)
7. Modifier type (การใช้ตัวขยาย)
8. Subjective type (การใช้เนื้อเรื่อง)
9. Familiar type (การใช้คำที่คุ้นเคยที่มีความหมายใกล้เคียง)
Definition type
เป็นชนิดของสิ่งแนะที่ชี้แสดงความหมายหรือนิยามคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย
ซึ่งผู้อ่านสามารถสังเกตการนิยามความหมายของคำศัพท์ได้โดยการดูที่ตัวชี้แนะ หรือคำสัญญาณ
(clues signal words) ที่ปรากฏอยู่ในข้อความนั้นๆ ตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณ ได้แก่

verb "to be" be called
mean(s/ed) called
consist of may be seen as
refer to can be defined as
may be described as can be taught of
what this means is
คำชี้แนะหรือคำสัญญาณดังกล่าวมาข้างต้นนี้ มีความหมายในทำนองเดียวกัน นั่นคือ
แปลว่า "คือ , หมายถึง , หมายความว่า, เรียกว่า"
ตัวอย่าง- A premise is a statement of the relationship between a cause and a consequence.
อธิบาย premise เป็นคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยis เป็นคำชี้แนะ หรือคำสัญญาณa statement of the relationship เป็นคำนิยามหรือความหมายของคำว่า premiseดังนั้น premise ก็คือ ข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลลัพธ์- People who study the stars are called astronomers.
อธิบาย astronomers เป็นคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยare called เป็นคำชี้แนะหรือคำสัญญาณpeople who study the stars เป็นคำนิยามหรือความหมายของคำว่า astronomersดังนั้น astronomers ก็คือ
คนที่ศึกษาเรื่องดวงดาว หรือนักดาราศาสตร์ นั่นเอง- A committee may be defined as any group interacting in regard to a common purpose.
อธิบาย committee เป็นคำที่ไม่คุ้นเคยmay be defined as เป็นคำสัญญาณ หรือตัวชี้แนะany group interacting in reagard to common purpose เป็นคำนิยามหรือความหมายของคำว่า committee ดังนั้น committee ก็คือ กลุ่ม หรือคณะบุคคลที่กระทำการใดๆ โดยมีจุดประสงค์ร่วมกัน
Restatement type
เป็นชนิดของตัวิชี้แนะที่ผู้เขียนบอกความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยด้วยการกล่าวซ้ำความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยนั้น โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายขึ้น พูดให้ง่ายขึ้น
การสังเกต restatement หรือการกล่าวซ้ำความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย สามารถดูได้จากตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณ (clues / signal words) และเครื่องหมายวรรคตอน (punctuation) ดังนี้
ตัวชี้แนะ หรือคำสัญญาณ ได้แก่or( หรือ ), that is(นั่นคือ), that is to say / i.e. (นั่นคือ), in other word(กล่าวอีกนัยนึงคือ), to put in another way (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ)
หมายเหตุ --- i.e. เป็นภาษาละติน
มาจาก id est แปลว่า that is to say
เครื่องหมายวรรคตอน
, ............................. เครื่องหมาย comma,.............................., เครื่องหมาย commas- เครื่องหมาย dash- .............................. - เครื่องหมาย dashes(.............................) เครื่องหมายวงเล็บหรือ parentheses
Example type
เป็นชนิดของสิ่งชี้แนะที่ผู้เขียนชี้แนะความหมายของคำศัพท์ไม่คุ้นเคยด้วยการให้หรือ
ยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบความหมาย ของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยนั้น โดยปกติก่อนจะยกตัวอย่างขึ้นมาประกอบเพื่อชี้แสดงความหมายของศัพท์ไม่คุ้นเคย ผู้เขียนมักจะให้คำชี้แนะหรือคำสัญญาณ
หรืออาจเป็นเครื่องหมายวรรคตอน ได้แก่
ตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณ
for example / e.g.for instancesuch as = ตัวอย่างเช่น, ยกตัวอย่างsuch ............aslike
หมายเหตุ : e.g. เป็นภาษาละติน คือ exampli gratia แปลว่า for example
เครื่องหมายวรรคตอน
, เครื่องหมาย comma: เครื่องหมาย colon- เครื่องหมาย dash
Comparison or Contrast typeเป็นชนิดของสิ่งแนะที่ผู้เขียนชี้แนะความหมายด้วยการเปรียบเทียบ (Comparison) หรือการแย้งความ (Contrast) โดยปกติ ผู้เขียนมักจะให้ตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณแสดงการเปรียบเทียบ หรือแสดงการขัดแย้งในทางตรงกันข้ามกันมาภายในข้อความนั้นๆ
ตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณที่แสดงการเปรียบเทียบ
as / as.................as เหมือนกับ
like / alike เหมือนกับ
similar to เหมือนกับ ,คล้ายกับ
resemble (v) เหมือนกับ
similarily (adv) ในทำนองเดียวกัน
likewise (adv) ในทำนองเดียวกัน
correspondingly (adv) ในทำนองเดียวกัน
in the same way (adv) ในทำนองเดียวกัน
in like manner (adv) ในทำนองเดียวกัน
comparing เปรียบเทียบกับ
compare with เปรียบเทียบกับ
as if / as though ราวกับว่า
ตัวชี้แนะหรือคำสัญญาณที่แสดงการขัดแย้ง
but / yet แต่however / nevertherless แต่อย่างไรก็ตาม
though / although/ even though แม้ว่า