วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อินโคเทอม (Incoterms)
เป็นข้อกำหนดของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce : ICC) ที่กำหนดความหมายของคำเฉพาะทางการค้า (trade term) เพื่อใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ แต่ก็สามารถนำไปใช้ในการทำสัญญาซื้อขายภายในได้ด้วย อินโคเทอมให้ความหมายและบ่งบอกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขายผู้ซื้อในการจัดส่งสินค้า ตลอดจนค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงภัย ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อและผู้ขายในการทำสัญญาซื้อขาย เพราะเพียงระบุเทอมของการซื้อขายตามอินโคเทอมไว้ในสัญญาซื้อขาย โดยไม่ต้องบรรยายรายละเอียดขั้นตอนความรับผิดชอบในการจัดส่งสินค้า ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงภัยลงไว้ในสัญญาซื้อขาย ก็ถือว่าเป็นการตกลงที่เข้าใจและรับรู้กันว่าผู้ขายมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไรในการจัดส่งสินค้า และต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าเพียงใด ถึงจุดใด ความเสี่ยงภัยต่อความสูญเสียหรือความเสียหายของสินค้าที่ซื้อขายกันจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อใด โดยมีการนำเทอมตามอินโคเทอมไปใช้ในการทำสัญญาซื้อขายสินค้าบางประเภทกันมากทั่วโลก โดยเฉพาะ เทอม EXW (Ex Works) FOB  (Free On Board) CFR (Cost And Freight) และ CIF (Cost, Insurance and Freight) ที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายกว้างขวาง
 
การทำสัญญาการค้าระหว่างประเทศของไทยส่วนมากจะนำอินโคเทอมมาใช้ แม้แต่การทำสัญญาซื้อขายในประเทศบางกรณีก็มีการอ้างอิงอินโคเทอมด้วย สำหรับการบังคับใช้อินโคเทอมตามกฎหมายไทยนั้น ถ้าเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศและตกลงกันโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้นำอินโคเทอมมาใช้บังคับ และเป็นกรณีที่ต้องระงับข้อพิพาทในศาลไทย หรือกรณีเป็นสัญญาซื้อขายในประเทศที่มีการอิงอินโคเทอม ศาลก็จะบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา
 
อินโคเทอมมีการจัดพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.. 2479 (..1936) และมีการปรับปรุงแก้ไขตลอดมาหลายครั้ง อินโคเทอมที่ใช้อยู่ล่าสุดก่อนการประกาศใช้ Incoterms 2010 คือ Incoterms 2000 ซึ่งมีการกำหนดคำเฉพาะทางการค้าไว้ 13 เทอม แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่ม E มีเทอมเดียว คือ EXW (Ex Works) กลุ่ม F มี 3 เทอม คือ FAC (Free Carrier), FAS (Free Alongside Ship), และ FOB (Free On Board) กลุ่ม C มี 4 เทอม คือ CFR (Cost And Freight), CIF (Cost, Insurance and  Freight), CPT (Carriage Paid To) และ CIP (Carriage And Insurance Paid To) เป็นกลุ่มผู้ขายต้องรับผิดชอบในการขนส่งด้วย  กลุ่ม D มี 5 เทอม คือ DAF (Delivered At Frontier), DES (Delivery Ex Ship), DEQ (Delivered Ex Quay), DDU (Delivered Duty Unpaid) และ DDP  (Delivered Duty Unpaid)
 


หลังจากใช้ Incoterms 2000 มาตั้งแต่ปี พ.. 2543 จนถึง ปี พ.. 2551 ทางหอการค้านานาชาติก็เริ่มพิจารณาแก้ไขปรับปรุง Incoterms 2000   เหตุผลที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงตามถ้อยแถลงของประธานหอการค้านานาชาติประการหนึ่งคือ มีการนำอินโคเทอมบางเทอมไปใช้อย่างผิดความหมาย มีการแปลความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้เกิดข้อพิพาทและมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น และตามเอกสารของหอการค้านานาชาติก็ได้ระบุถึงความจำเป็นในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับข้อปฏิบัติทางการค้า เทคโนโลยี และการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย อินโคเทอมฉบับใหม่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสินค้า และการที่สหรัฐอเมริกาได้แก้ไขกฎหมายทางการค้าเมื่อ พ.. 2547 ที่ได้ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับเทอมการส่งสินค้า (US shipment and delivery terms) และให้สามารถรองรับเขตการค้าเสรี เช่นกรณีของสหภาพยุโรปด้วย         
 
สิ่งใหม่ของ Incoterms 2010 คือ ลดเทอมการค้าที่กำหนดไว้ตาม Incoterms 2000 จาก 13 เทอม เหลือ 11 เทอม เป็นเทอมตาม Incoterms 2000  เดิม 9 เทอม เป็นเทอมใหม่ 2 เทอมและจากเดิมแยกกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม เหลือเพียง 2 กลุ่ม โดยแยกตามโหมดของการขนส่ง เป็นสองโหมด คือโหมดการขนส่งใดๆ ที่ไม่ใช่การขนส่งทางเรือเป็นหลัก ซึ่งหากมีการขนส่งทางเรือก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการขนส่งเท่านั้น และโหมดการขนส่งทางทะเลและทางลำน้ำ
 
โหมดการขนส่งที่ไม่ใช่การขนส่งทางเรือ มีทั้งหมด 7 เทอม ประกอบด้วยเทอมเก่าคือ EXW (Ex Works), FAC (Free Carrier), CPT (Carriage Paid To), CIP (Carriage And Insurance Paid To), DAT (Delivered At Terminal ), DAP (Delivered At Place) และ  DDP (Delivered Duty  Unpaid) อีกโหมดหนึ่งคือการขนส่งทางทะเลและทางลำน้ำ ประกอบด้วย 4 เทอมซึ่งเป็นเทอมที่คุ้นเคยกันทั่วไปคือ FAS (Free Alongside Ship), FOB (Free On Board), CFR (Cost And Freight) และ CIF (Cost, Insurance and  Freight)
 
DAT (Delivered At Terminal) เป็นเทอมใหม่ แทน DEQ (Delivered Ex Quay) จากข้อมูลเบื้องต้น เทอม DAT สามารถใช้กับการขนส่งแบบใดก็ได้รวมทั้งใช้ได้กับการขนส่งที่ต้องใช้ทั้งสองโหมด สำหรับการส่งมอบสินค้านั้น ถือว่าผู้ขายได้ส่งมอบสินค้า เมื่อมีการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะที่บรรทุก  ไปไว้ยังที่ที่ผู้ซื้อจัดไว้ ณ อาคารขนถ่ายสินค้า ในท่าเรือหรือปลายทางตามที่ระบุไว้ 
 
DAP (Delivered At Place) เป็นเทอมใหม่แทน DAF (Delivered At Frontier), DES (Delivery Ex Ship), DEQ (Delivered Ex Quay) และ DDU (Delivered Duty Unpaid) ซึ่งทางหอการค้านานาชาติเห็นว่า เทอมเดิมทั้งสี่เทอมดังกล่าวค่อนข้างคล้ายกันมากแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย จึงยุบรวมกันเพื่อให้เกิดความสะดวกยิ่งขึ้น และตามข้อมูลเบื้องต้น ผู้ขายตามเทอม DAP จะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่าง ยกเว้นค่าภาษีและพิธีการนำเข้า และต้องรับความเสี่ยงภัย จนสินค้าถึงจุดหมายปลายทาง
 
หมายเหตุเกี่ยวกับ Incoterms 2000 และ Incoterms 2010 ตามเอกสารของหอการค้านานาชาติ บันทึกให้เป็นที่รับทราบกันว่า บรรดาสัญญาซื้อขายที่ทำภายใต้ Incoterms 2000 ยังมีผลใช้บังคับได้ แม้จะล่วงเลยปี พ.. 2555 ก็ตาม นอกเหนือจากนั้นการทำสัญญาซื้อขายสินค้าภายหลังจากนี้ คู่สัญญายังสามารถเลือกได้ว่าจะใช้เทอมการค้า ตามอินโคเทอม ฉบับก่อนฉบับใดก็ได้ แต่ต้องระบุไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อพิพาทขึ้น
 
คำแนะนำของหอการค้านานาชาติเกี่ยวกับใช้อินโคเทอม หอการค้านานาชาติให้คำแนะนำว่า ในการทำสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงเลือกใช้เทอม ตามอินโคเทอมที่เหมาะสมกับสินค้าและวิธีการขนส่ง โดยสามารถศึกษาได้จากคำอธิบายและแนวทางในการใช้ Incoterms 2010 แต่ละเทอมได้จากเอกสารของหอการค้านานาชาติ (เป็นเอกสารลิขสิทธิ์พิมพ์จำหน่ายไม่ได้แจก) จึงเป็นเรื่องที่ผู้นำเข้าและส่งออกควรได้ศึกษาทำความเข้าใจกับ Incoterms 2010 เพื่อประโยชน์ในการเจรจาทำความตกลงซื้อขายให้เกิดประโยชน์สูงสุด


 

Incoterm:

คำศัพท์ที่ใช้กันบ่อย

1
มีคำย่อมากมายที่ใช้กันในวงการ แต่ไพรว่าเราใช้แค่ 4 อันแค่นั้นแหละ คำย่อต่างๆเราเอาไว้ขอราคาจากผู้ขายสินค้า เราเรียกมันว่า Incoterm หรือ International Commercial Terms แล้วมันมีเยอะขนาดไหน ขอบอกตรงๆว่าจำไม่ได้ เพราะไม่เคยศึกษา เอาแค่ที่ใช้ก็พอแล้ว ผมคิดว่าอย่างนั้นนะครับ

www.bangkokbiznews.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น